วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 : เรียนรู้ Drupal เพิ่มเติม

การฝึกปฏิบัติงาน : วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554

*งานจัดการความรู้

  • เรียนรู้ Drupal เพิ่มเติมกับ อ.บุญเลิศ อรุณพิบูลย์

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 : จัดทำรายงานผลการฝึกปฏิบัติงาน

การฝึกปฏิบัติงาน : วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554

*งานพัฒนาและบริการสื่อสาระดิจิทัล

  • จัดทำรายงานผลการฝึกปฏิบัติงาน

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 : ร่วมจัดทำระบบห้องสมุดมูลนิธิ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช (ต่อ)

การฝึกปฏิบัติงาน : วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554

*งานจัดการความรู้

ร่วมจัดทำระบบห้องสมุดมูลนิธิ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ต่อจากวันนี้ 16 กุมภาพันธ์ 2554
โดยมีหน้าที่ดังนี้

  • ติดแถบสีที่สันหนังสือในกลุ่มผลงานของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช (แถบสีส้ม เพราะท่านเกิดวันพฤหัสบดี)
  • ติด Label หนังสือ
  • ประทับตราในหน้า Title Page

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 : ศึกษาหลักการพัฒนาเว็บไซต์

การฝึกปฏิบัติงาน : วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554

*งานพัฒนาและบริการสื่อสาระดิจิทัล

  • ศึกษาหลักการพัฒนาเว็บไซต์ให้ได้มาตรฐาน

……………………………………………………………………………………………………………………

ปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเว็บไซต์เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตไปแล้ว เนื่องด้วยการเผยแพร่ข้อมูลอย่างรวดเร็วและทั่วถึงทุกระดับในสังคม ผู้ัพัฒนาเว็บไซต์จึงต้องก้าวทันโลกและเทคโนโลยีที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว

วันนี้อาจารย์พี่เลี้ยงได้บรรยายเรื่องหลักการพัฒนาเว็บไซต์ปัจจุบัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่ยุคแรกคือการสร้างเว็บไซต์ด้วยการเขียนภาษา HTML จนถึงปัจจุบันที่มีโปรแกรมสำหรับสร้างเว็บไซต์โดยเฉพาะ โปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บไซต์ที่อาจารย์พี่เลี้ยงแนะนำคือโปรแกรมประเภท OpenSource ในกลุ่ม CMS  เช่น Joomla, Drupal, WordPress, Dokuwiki เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมกลุ่ม CMS ยังมีอีกมากมาย สามารถศึกษาเปรียบเทียบความสามารถของโปรแกรมกลุ่ม CMS แต่ละตัวไ้ด้ที่ http://cmsmatrix.org มีประโยชน์อย่างมากในการเลือกใช้โปรแกรมอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมกลุ่ม Wiki ซึ่งเป็นเว็บไซต์ประเภทหนึ่งที่เน้นการนำเสนอเนื้อหาเป็นหลัก ซึ่งกลุ่ม Wiki มีให้เลือกใช้มากมายและสามารถเปรียบเทียบความสามารถได้เช่นกันที่ http://www.wikimatrix.org

สำหรับข้้อดีของการพัฒนาเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมกลุ่ม CMS คือง่่าย สะดวก สวยงาม ส่วนข้อเสียคือการติดตั้งต้องแก้ไขค่า Config หลายอย่างมาก ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจในเรื่องของภาษาต่างๆ ในการสร้างเว็บไซต์ และโปรแกรมกลุ่มนี้ต้องอาศัยโปรแกรมเสริมมาช่วยในการนำเสนอข้อมูลรูปแบบต่างๆ ซึ่งต้องเลือกดูความสามารถของโปรแกรมว่ารองรับหรือไม่และเลือกให้ถูกต้องกับเนื้อหา

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเว็บไซต์ในปัจจุบัน

  • เลือกโปรแกรมในการพัฒนาเว็บไซต์ให้ถูกต้องกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ เช่น การบันทึกประจำวัน ใช้ WordPress เพราะมีการแสดงวันที่และแสดงเนื้อหาในลักษณะบทความวันต่อวัน เหมาะสำหรับบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน
  • เลือกโปรแกรมเสริม (Extensions) ให้เหมาะสม เช่น จะพัฒนา Joomla ให้ใช้กับงานห้องสมุดจะใช้โปรแกรมเสริม (Extensions) ได้แก่ Book library Basic เป็นการใส่รายละเอียดหนังสือคล้ายๆ กับการ Cataloging หนังสือ เป็นต้น
  • ผู้พัฒนาเว็บไซต์ต้องคำนึงวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเว็บไซต์และกลุ่มผู้ใช้งาน
  • หลังจากติดตั้งโปรแกรมแล้วต้องกลับมาตั้งค่า Config ให้เรียบร้อยโดยเฉพาะเรื่องการกำหนดเวลาที่แสดงในเว็บไซต์ ต้องเป็นใช้เวลาจริงๆ ขณะนั้น เพราะข้อมูลที่ำนำเสนอมีผลตามกฏหมาย

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 : Dokuwiki

การฝึกปฏิบัติงาน : วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554

*งานพัฒนาและบริการสื่อสาระดิจิทัล

  • เรียนโปรแกรม Dokuwiki

……………………………………………………………………………………………………………………

มารู้จัก Dokuwiki กันก่อน !!

Dokuwiki เป็นโปรแกรมที่ช่วยสร้างสรรค์ความรู้ในแบบออนไลน์ ซึ่งในหลายหน่วยงานใช้เป็นคลังความรู้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ซึ่งมีประโยชน์มากๆ การใช้งานของ Dokuwiki อาจต้องอาศัยความชำนาญในการเขียนโค้ดเพราะจะโปรแกรมจะไม่แสดงผลแบบ WYSIWYG แต่ถึงอย่างไรก็ตาม Dokuwiki ก็มี Plug in สำหรับจัดการเนื้อหาโดยไม่ต้องเขียนโค้ดเอง ซึ่งจะอยู่ในแถบเครื่องมือโดย Plug in ต่างๆ สามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้ตามสิ่งที่ต้องการนำเสนอ เช่น สร้างสไลด์โชว์ เป็นต้น

การประยุกต์ใช้ Dokuwiki

จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาในขณะที่เรียนเคยศึกษาโปรแกรมนี้มาแล้ว แต่ไม่ได้นำขึ้น Server จริง จะทำใน Appserv จึงทำให้ไม่มีการแลกเปลี่ยนความรู้กัน จะเป็นการเรียนการใช้งานโปรแกรมมากกว่า เช่่น การสร้างเนื้อหา การใส่ภาพ ลิงค์ วิดีโอ เป็นต้น แต่บางครั้งก็เกิดปัญหาบ้าง ทำให้ต้องศึกษาเพิ่มเติมเช่นเรื่อง Plug in ต่างๆ

ตัวอย่าง : Dokuwiki ภาควิชาสารสนเทศศึกษา

Dokuwiki ภาควิชาสารสนเทศ เป็นการประยุกต์ใช้หลักการใช้งานของโปรแกรมซึ่งโดยภาพรวมแล้วจะเป็นลักษณะการสร้าง KM ภายในหน่วยงาน ในการร่วมกันแสดงความคิดเห็นร่วมกันทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นอาจารย์หรือนิสิตในเรื่องต่างๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดประเด็นใหม่ๆ ที่จะช่วยสร้างสิ่งที่ดีร่วมกัน เช่นถ้าภาควิชาจัดกิจกรรม 1 กิจกรรม ควรจะได้รับข้อเสนอแนะจากทุกฝ่าย เพื่อความเหมาะสมด้วย

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554 : การสแกนหนังสือสำหรับทำ E-book

การฝึกปฏิบัติงาน : วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554

*งานพัฒนาและบริการสื่อสาระดิจิทัล

  • ฝึกปฎิบัติสแกนหนังสือสำหรับเตรียมจัดทำ E-book ด้วยเครื่องสแกนเนอร์
    BookDrive DIY โดยได้รับมอบหมายให้สแกนหนังสือคนละ 1 เล่ม
  • จัดทำรายงานฝึกปฏิบัติงาน

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554 : ร่วมจัดทำระบบห้องสมุดมูลนิธิ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช (ต่อ)

การฝึกปฏิบัติงาน : วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554

*งานจัดการความรู้

ร่วมจัดทำระบบห้องสมุดมูลนิธิ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ต่อจากวันนี้ 11 กุมภาพันธ์ 2554
โดยมีหน้าที่ดังนี้

  • สแกนหน้าปกหนังสือเพื่อรอนำไปประกอบข้อมูลบรรณานุกรมในระบบ
  • เขียนเลขหมู่เฉพาะที่กำหนดใช้ขึ้นเองของมูลนิธิ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ลงในหน้า
    Title Page หรือหน้ารองปก

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 : ศึกษาการใช้งานโปรแกรม Drupal (ต่อ)

การฝึกปฏิบัติงาน : วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554

*งานพัฒนาและบริการสื่อสาระดิจิทัล

  • ศึกษาการใช้งานโปรแกรม Joomla (ต่อ) โดยการเพิ่ม Module Search, Login
    และPoll
  • ศึกษาการใช้งานจาก Help ของโปรแกรม Drupal และเว็บที่เกี่ยวข้อง

  • เข้าร่วมฟังบรรยายเรื่อง KM ของ สวทช. ซึ่งสามารถสรุปความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยาย
    ได้ดังนี้
    1. สวทช.ใช้ KA ซึ่งเป็น IT ในการขับเคลื่อนการงานของพนักงานในการทำ KM
    2. จุดเด่นของสวทช. อยู่ที่คลังความรู้ การแชร์ความรู้ผ่าน Blog Wiki Book และ
    การใช้ระบบ myPerformance ในการสร้างคลังความรู้ของตนเอง ตลอดจน
    นำไปใช้ในการเคลื่อนตำแหน่งจากผลงานที่เขียนในระบบเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน
    ความรู้กันอีกทางหนึ่งด้วย
    3. ผู้บริหารให้ความรู้สนับสนุนอย่างดีเยี่ยม และต่อเนื่อง

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 : ศึกษาการใช้งานโปรแกรม Drupal

การฝึกปฏิบัติงาน : วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554

*งานพัฒนาและบริการสื่อสาระดิจิทัล

ศึกษาการใช้งานโปรแกรม Drupal

  • ทดลองติดตั้ง Drupal ด้วย Appserv
  • เขียนข้อความและเปลี่ยนภาษาใน Module ต่างๆ
  • ศึกษาความแตกต่างระหว่าง Drupal กับJoomla!

……………………………………………………………………………………………………………………

สำหรับวันนี้ได้ทดลองติดตั้งโปรแกรม Drupal ด้วยAppserv ซึ่งจะความซับซ้อนมากกว่า
Joomla! อยู่บ้าง แต่ก็น่าสนใจดีนะคะ ดังนั้นในวันนี้จึงจะขออธิบายหลักการติดตั้งโปรแกรม
Drupal ด้วยAppserv ให้ได้ลองติดตั้งกันดูค่ะ

ขั้นตอนการติดตั้ง Drupal ด้วยAppserv
1. ดาวน์โหลดโปรแกรม Appservและ Drupal

2. Unzip ไฟล์

3. คัดลอกโฟล์เดอร์ drupal ไปยังโฟล์เดอร์ www ภายใต้ไดร์ฟที่เราติดตั้ง Appserv

4. เปิดบราวเซอร์ ใส่ URL ว่า localhost กด enter

5. กรอก Username และPassword ของฐานข้อมูล MySQL ที่เราได้กำหนดไว้ตอนที่
ติดตั้ง Appserv

6. เข้าสู่หน้า phpMyAdmin สำหรับการจัดการฐานข้อมูล MySQL ตรงช่อง สร้าง
ฐานข้อมูลใหม่ให้ใส่ชื่อฐานข้อมูล ในที่นี้ ใส่ชื่อว่า drupal แล้วคลิกปุ่ม สร้าง

7. จากนั้นจะปรากฏข้อความ “ฐานข้อมูล drupal สร้างเสร็จแล้ว” เป็นอันว่าเรียบร้อยในส่วน
ของการเตรียมฐานข้อมูล MySQL ไว้รองรับการใช้งาน drupal

8. กลับมาที่บราวเซอร์ เปลี่ยน URL ไปที่ localhost/drupal กด enter

9. จะปรากฎคำเตือนสีแดงว่า ให้เรา Copy ไฟล์ default.settings.php (อยู่ใน folder C:AppServ/www/drupal/sites/default) จากนั้นวางใน folder เดียวกันและเปลี่ยนชื่อเป็น settings.php

10. ดำเนินการแก้ไขในส่วนของไฟล์ install.inc (อยู่ใน C:AppServ/www/drupal/includes)
โดยอาจเปิดด้วยโปรแกรม EditPlus หรือ Notepad ก็ได้ โดยแก้ไขที่บรรทัด
$default_settings = ‘./sites/default/default.settings.php’;
ให้แก้เป็น
$default_settings = ‘./sites/default/settings.php’;

11. กลับมาที่บราวเซอร์ คลิกปุ่ม Refresh

12. กรอกรายละเอียดต่างๆ ตามช่องที่แสดงไว้ จากนั้นคลิกเลือกที่ปุ่ม Save and continue
และดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 : ร่วมจัดทำระบบห้องสมุดมูลนิธิ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

การฝึกปฏิบัติงาน : วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554

*งานจัดการความรู้

ร่วมจัดทำระบบห้องสมุดมูลนิธิ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยมีหน้าที่ดังนี้

  • คัดแยกทรัพยากรออกเพื่อรอนำไปวิเคราะห์ทรัพยากร โดยแบ่งออกเป็น 3 หมวด ได้แก่
    – ค คือผลงานประพันธ์ของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
    – ก คือบุคคลอื่นเขียนถึงม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
    – อ คืออื่นๆ ซึ่งมีเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับประเภท ค และก
  • เขียนเลขหมู่เฉพาะที่กำหนดใช้ขึ้นเองของมูลนิธิ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ลงในกระดาษ
    และนำไปสอดไว้ในตัวเล่ม เพื่อรอวิเคราะห์ทรัพยากรต่อไป

……………………………………………………………………………………………………………………

สำหรับวันนี้ได้รับความรู้ในการทำงานคือ การปรับเลขเรียกของทรัพยากรให้เหมาะสม
กับองค์กรนั้นๆ เนื่องจากองค์กรได้จัดทำห้องสมุดที่เป็นห้องสมุดเฉพาะ จึงทำให้เนื้อหา
ของทรัพยากรไม่ค่อยหลากหลายนัก จึงได้มีการปรับเลขเรียกให้เหมาะสม ง่ายต่อการใช้
งานและทำงาน

Previous Older Entries